รู้จัก LabVIEW – State Machine

ยกตัวอย่างการสร้าง States Machine สำหรับ Data Acquisition

การพัฒนาระบบควบคุมระบบอัตโนมัติ การใช้งาน State Machine เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากมันช่วยให้เราสามารถจัดการกับสถานะต่างๆ ของระบบได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และทำให้ Block Diagram ของ LabVIEW ที่เขียนอ่านและแก้ไขได้ง่ายขึ้น ในบทความนี้ เราจะพูดถึง State Machine ใน LabVIEW โดยยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Data Acquisition

หลักการทำงานของ State Machine นี้เป็นแบบจำลองการทำงานที่มีสถานะหลายๆ อัน ซึ่งคล้ายๆ กับ Flowchart แต่ข้อแตกต่างของ States Machine จาก Flowchart คือการเปลี่ยนสถานะเกิดขึ้นตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบ แต่ละสถานะจะมีการทำงานและตอบสนองต่างๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ ระบบจะเปลี่ยนสถานะไปยังสถานะใหม่ที่ตามที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นระบบจะดำเนินการทำงานตามสถานะใหม่นั้นๆ และรอรับเหตุการณ์ใหม่เพื่อเปลี่ยนสถานะอีกครั้ง และนี่คือแนวคิดหลักของ State Machine ที่เราต้องทำความเข้าใจ

Data Acquisition คือกระบวนการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับนั้นสามารถนำมาวิเคราะห์หรือนำไปใช้งานต่อได้

การทำงานของ State Machine สำหรับ Data Acquisition ผมจะลองยกตัวอย่าง States ที่จำเป็นต้องมี แต่เงื่อนไขในการเปลี่ยนสถานะนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเรานะครับ

  1. เริ่มต้น (Initialize): ในสถานะนี้ระบบจะทำการเตรียมการตั้งค่าเบื้องต้น เช่น เชื่อมต่อกับอุปกรณ์การเก็บรวบรวมข้อมูล หรือกำหนดค่าพารามิเตอร์การเก็บรวบรวมข้อมูล
  2. เก็บรวบรวมข้อมูล (Data Acquisition): ในสถานะนี้ระบบจะทำงานในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น อ่านค่าจากเซ็นเซอร์หรือตัวแปรจากอุปกรณ์
  3. วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis): หลังจากที่ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมมาแล้ว สถานะนี้จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวม โดยสามารถทำการประมวลผลหรือคำนวณค่าทางสถิติ หรือประมวลผลอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการนำข้อมูลไปใช้งานต่อไป
  1. ก็บข้อมูล (Datalog): ในสถานะนี้ระบบจะทำการเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในระบบจัดเก็บ เช่น บันทึกลงในฐานข้อมูล หรือเขียนลงในไฟล์เพื่อนำไปใช้งานในอนาคต
  2. ตรวจสอบเงื่อนไขหยุด (Check Stop Condition): สถานะนี้ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขหยุดการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยตรวจสอบว่ามีเหตุการณ์หรือเงื่อนไขใดๆ ที่บอกว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลควรหยุดลง อาจเป็นเหตุการณ์ที่มาจากการกดปุ่มหยุด หรือเงื่อนไขเวลาหรือปริมาณข้อมูลที่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  3. สิ้นสุด (End): ในสถานะนี้ระบบจะทำงานเพื่อทำการสิ้นสุดกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจเป็นการปิดการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลังจากการทำงานเสร็จสิ้น

ตัวอย่างของ State Machine สำหรับ Data Acquisition สามารถเขียนเป็น Diagram ได้ตามด้านล่าง

ตัวอย่าง LabVIEW States Machine

ที่มา

https://labviewwiki.org/wiki/State_Machine

หากคุณสนใจในการสร้างระบบ Data Acquisition ด้วย LabVIEW เรายินดีที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำขั้นตอนการดำเนินงานให้คุณ สามารถติดต่อเราได้ contact@byter.in.th

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *